TH I EN
พระพุทธชยันตีปางสมาธิ ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา

ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) เพื่อเป็นที่ระลึกงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ในเทศกาลวิสาขบูชา ปี 2555 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ปี 2555 และเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2555 และเมื่อวันเสาร์ที่ 5 เดือน 5 ปี 2555

สำหรับ พระพุทธชยันตี มาจากคำว่า "ชย" คือชัยชนะ อันหมายถึง ชัยชนะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีต่อหมู่มาร และกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก พุทธชยันตีจึงมีความหมายว่าเป็น "การตรัสรู้ และการบังเกิดขึ้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย"

ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึง ชัยชนะของพุทธศาสนาและชาวพุทธด้วย เช่น การได้รับเอกราช และมีสิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นครั้งแรกของชาวพุทธในประเทศศรีลังกา การฉลองปีใหม่ชาวพุทธโดยไม่มีเหล้าสุรายาเสพติดสิ่งมึนเมาทั่วทั้งประเทศศรีลังกา การเอาชนะสิ่งเลวร้ายในสังคม จนทำให้ประเทศศรีลังกามีสถิติอาชญากรรมที่ต่ำมาก

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง พระพุทธชยันตี

ความสำคัญของ พุทธชยันตี เป็นชื่อเรียกงานเฉลิมฉลองหรือพิธีบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องในวาระแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั่นเอง พุทธชยันตีนี้เป็นที่รู้จักกันดี ของชาวพุทธนาๆ ชาติอย่างประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า ไทย เป็นต้น

สำหรับรัฐบาลไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ร่วมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ ด้วยการสร้าง "พุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน" ประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยกำหนดให้วันพระ หรือวันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ (ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2499 ) และมีการพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุดฉบับแรก เป็นต้น

สำหรับการเฉลิมฉลองในระดับนานาชาตินั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด "ฉัฎฐสังคีติ" คือการสังคยนาพระไตรปิฎกระดับนานาชาติ โดยทางพม่านับเป็นการสังคยนาครั้งที่ 6 แล้วได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลี และคัมภีร์ทั้งหลายขึ้นเป็นจำนวนมาก สำหรับวาระสำคัญในปีปัจจุบันเนื่องในมหาธัมมาภิสมัย พุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้นั้น ถ้าถือตามหลักการคำนวนปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วันวิสาขบูชา 2554 และวันวิสาขบูชา 2555 ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชา 2555 ที่ผ่านมานี้ (วันที่ 4 มิ.ย.2555) เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ 2600 ปี

1. พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อเงิน
2.พระกริ่งเนื้อนวโลหะ
3.พระกริ่งเนื้อสำริด
4.พระพุทธชยันตีเนื้อผง

ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการจัดงาน ได้จัดพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก แผ่นเงิน, ทอง, นาก และชนวนมวลสาร สร้างวัตถุมงคล พระพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) ณ วิหารพุทธมณฑล

อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยพระเกจิคณาจารย์ 9 รูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ พระธรรมปริยัติเวที วัดพระปฐมเจดีย์

จ.นครปฐม, หลวงปู่แคล้ว วัดดอนเมือง กรุงเทพฯ, หลวงพ่อแย้ม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม, หลวงพ่อเฉลา วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ, พระรัตนมงคลโมลี วัดธาตุทอง กรุงเทพฯ, หลวงพ่อชัยศรี วัดตุ๊กตา จ.นครปฐม, ครูบาหลวงปู่เสาร์ สำนักสงฆ์อำเภอแม่แตง จ.เชียงใหม่, พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร วัดกุศลสมาคร และองอนันตสรนาท วัดอุทัยภาติการาม (ซำปอกง) จ.ฉะเชิงเทรา

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง พระพุทธชยันตี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันเสาร์ที่ 26 พ.ค. มีพระเกจิคณาจารย์นั่งอธิษฐานจิต 11 รูป ได้แก่ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์, หลวงพ่อบัว วัดเกาะตะเคียน, หลวงพ่อแถม วัดช้างเทกระจาด, หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่, หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง, หลวงพ่อหวัน วัดคลองคูณ, หลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู, หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน และหลวงพ่ออเนก วัดนาหนอง

วัตถุมงคลรุ่นนี้ประกอบไปด้วย พระกริ่งพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อนวโลหะ และเนื้อสำริด พระเนื้อผงพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นที่ระลึกงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ในเทศกาลวิสาขบูชา ปี 2555, เพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 26000 ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, เพื่อจัดหากองทุนจัดงานวิสาขบูชา และเพื่อเป็นกองทุนส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา

สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย

 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 30,288,384